เลือดออกใต้เล็บ หรือ เลือดคั่งใต้เล็บ ทางการแพทย์เรียกว่า ห้อเลือด (Subungual Hematoma) เกิดจากเลือดออกใต้แผ่นเล็บ ส่วนใหญ่อาจเกิดจากอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นในส่วนของเล็บ เช่น ประตูหนีบ กระแทกกับขอบโต๊ะ หรือถูกของแข็งหล่นทับ ทำให้ความดันใต้เล็บเพิ่มมากขึ้น และเกิดเป็นอาการเลือดออกใต้เล็บได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเจ็บปวด และมีเลือดออกเล็กน้อย แต่หากอาการเจ็บป่วยมีความรุนแรง รวมถึงเลือดไม่หยุดไหล ควรเข้าพบคุณหมอ เพื่อทำการรักษา
อาการเลือดออกใต้เล็บ
โดยปกติเเล้วอาการเจ็บปวดที่เกิดจากห้อเลือดสามารถหายไปเองได้ภายในไม่กี่วัน แต่เล็บที่ได้รับความเสียหายอาจจำเป็นต้องใช้ระยะเวลารักษานานกว่า โดยจะมีอาการดังนี้
- สีของเล็บเปลี่ยนเป็นสีม่วงแดงหลังได้รับบาดเจ็บ ก่อนจะกลายเป็นสีน้ำตาลและสีดำลักษณะคล้ายลิ่มเลือดในที่สุด
- บางรายอาจมีเล็บแตก เล็บแยกตัวออกจากฐานเล็บ หรือเล็บเปิดได้
- ปวดบริเวณเล็บเท้าที่ห้อเลือด เนื่องจากการมีเลือดออกใต้เล็บ และเลือดถูก “ขัง” อยู่ใต้เล็บ ทำให้มีแรงดันใต้เล็บสูง จึงทำให้มีอาการปวดได้
- เล็บห้อเลือด เห็นเป็นสีช้ำๆ ม่วงๆ คล้ำๆ อาจจะทั้งเล็บ หรือบางส่วนของเล็บก็ได้
- อาการปวดจะเป็นอยู่ 3-5 วันแรก แต่เล็บที่เปลี่ยนสีช้ำๆ จะเป็นไปนานเลยครับ เนื่องจากเลือดที่ออกใต้เล็บไม่สามารถระบายออกไปไหนได้
สาเหตุของเลือดออกใต้เล็บ
เลือดออกใต้เล็บ หรือ เลือดคั่งใต้เล็บ (Subungual Hematoma) ส่วนใหญ่เกิดจากอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นในส่วนของเล็บ ทำให้ความดันใต้เล็บเพิ่มมากขึ้น และเกิดเป็นอาการเลือดออกใต้เล็บได้ โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเลือดออกใต้เล็บ อาจมีดังต่อไปนี้
- การโดนค้อนทุบบริเวณนิ้ว
- โดนของหนักตกใส่นิ้ว
- ปิดประตูรถทับนิ้วหรือปิดประตูบ้านทับนิ้ว
- นิ้วเท้ากระทบกับพื้นผิวที่แข็ง เช่น พื้นบ้าน พื้นถนน
- เป็นนักกีฬา เช่น นักวิ่ง
- อุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ
- การใส่รองเท้าที่ไม่พอดีหรือคับเกินไป
การปฏิบัติในกรณีเลือดออกใต้เล็บ
หากคุณพบเลือดออกใต้เล็บและไม่มีอาการร้ายแรง เราแนะนำให้ทำตามขั้นตอนเหล่านี้
1. ยกเท้าหรือมือขึ้น
ยกมือหรือเท้าข้างที่เกิดห้อเลือดขึ้นเหนือระดับหัวใจ เพื่อช่วยลดอาการบวมและปวด
2. ใช้แผ่นประคบ
ใช้แผ่นประคบเย็นหรือประคบน้ำแข็งเป็นระยะเวลา 20 นาที โดยควรนำน้ำแข็งใส่ผ้าขนหนูหรือเสื้อผ้าก่อนนำมาใช้ประคบ แต่ไม่ควรใช้น้ำแข็งประคบที่ผิวหนังโดยตรง เพื่อป้องกันผิวหนังถูกทำลายจากความเย็น
3. การรับประทานยา
รับประทานยาแก้ปวดในกลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) ที่หาซื้อได้ตามร้านขายทั่วไป แต่ควรปรึกษาเภสัชกรถึงความปลอดภัยและความเสี่ยงก่อนเสมอ โดยเฉพาะผู้ที่กำลังใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เพราะตัวยาอาจส่งผลให้มีเลือดออกในกระเพาะอาหารและปัญหาเกี่ยวกับไตได้
4. ควรรีบปรึกษาหมอ
หากเลือดออกใต้เล็บไม่หยุด หรือหากมีอาการร้ายแรง เช่น ปวดร้าวรอยต่อมือหรือเท้า เสียงร้าวรอยต่อมือหรือเท้า หรือมีอาการบ้างอย่างอื่นที่ไม่ปกติ ควรรีบปรึกษาหมอด่วนเพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง
เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์โดยด่วน
หากปฏิบัติตามคำแนะนำแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นหรือมีอาการรุนแรงมากกว่าเดิม ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์ โดยการรักษาจะมีอยู่หลายวิธีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ดังนี้
1. เลือดรั่วออกอย่างต่อเนื่อง
หากเลือดยังคงรั่วออกอย่างต่อเนื่องหลังจากการบรรเทาเจ็บปวดเบาลงหรือหากมีการขยับนิ้วหรือเท้า
2. เลือดออกมากกว่าปกติ
หากเลือดออกมากมายและไม่สามารถควบคุมได้ด้วยการกดเบา ๆ
3. มีอาการแสดงถึงปัญหาเรื้อรัง
หากคุณมีปัญหาเรื้อรังเช่นโรคหัวใจหรือโรคเลือด ควรรีบปรึกษาหมอทันที
4. อาการอื่นที่เกิดขึ้นพร้อมกับเลือดออก
หากมีอาการอื่น เช่น ปวดร้าวรอยต่อมือหรือเท้าหรืออาการอื่นที่ไม่ปกติ เช่น ปวดหน้าอกหรือหายใจเหนื่อย เพราะอาจมีปัญหาที่ร้ายแรงอื่น ๆ
5. ผู้ป่วยบางรายอาจต้องรักษาด้วยการเจาะเล็บ
โดยแพทย์จะเจาะรูเล็ก ๆ บนเล็บด้วยเข็มหรือคลิปหนีบที่ผ่านการฆ่าเชื้อ รวมถึงเลเซอร์เพื่อระบายเลือดที่คั่งอยู่ภายในออกมา ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการบวมและปวด
6. ในกรณีที่มีอาการรุนแรงหรือเล็บถูกทำลาย
แพทย์อาจรักษาด้วยการถอดเล็บ เพื่อรักษาและซ่อมแซมเนื้อเยื่อใต้เล็บ
อย่าลืมว่าเลือดออกใต้เล็บอาจไม่เป็นสัญญาณของปัญหาร้ายแรง แต่หากคุณไม่แน่ใจหรือมีอาการที่ไม่ปกติ และมีความกังวลเกี่ยวกับสาเหตุหรืออาการนี้ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม เนื่องจากสาเหตุของเลือดออกใต้เล็บอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสถานการณ์และอาการของแต่ละบุคคล
หากคุณมีปัญหาใด ๆ เกี่ยวกับเล็บ สามารถปรึกษาได้ที่ “Seven Plus Clinic และ D’Secret Clinic” เราคือ คลินิกที่รับตรวจรักษา โรคเล็บ เล็บขบ ขอบเล็บอักเสบ เชื้อราที่เล็บ ผ่าตัดถอดเล็บ ครบวงจรเรามีทีมแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านโรคผิวหนังโดยเฉพาะ ให้การรักษาที่ตรงจุด ทำการตรวจโดยใช้แล็บต่างประเทศมีความแม่นยำสูงในการวินิจฉัยโรค
นำทีมแพทย์โดยพญ.มริญญา ผ่องผุดพันธ์ แพทย์เฉพาะทางโรคผิวหนัง ตจแพทย์
ประสบการณ์การทำงาน
- อาจารย์พิเศษแผนกผิวหนัง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- อาจารย์แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวง
- อาจารย์แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลรามาธิบดี
- แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลสมิติเวช
- แพทย์ผิวหนัง โรงพยาบาลกรุงเทพ
ผ่านการศึกษาจาก (Education)
- Hair Restoration Training, Korea (2015)
- Thai Board of Dermatology, Ramathibodi Hospital (2013)
- Board of Dematopathology, Boston University, USA (2009)
- Master of Science in Dermatology, Boston University, USA (2006)
- Doctor of Medicine, Mahidol University (2001)
- Nail surgery training
- Laser expert training
- Hair expert training
- Boton university usa
สามารถสอบถามรายละเอียดเพื่อเข้ารับคำปรึกษาและติดตามโปรโมชั่นราคาได้ทางช่องทางต่อไปนี้
Seven Plus Clinic
- เปิดบริการทุกวัน 00 – 18.00 น.
- facebook : SevenPlusClinic
- Messenger : SevenPlusClinic
- Line : @sevenplusclinic
- Phone : 02-0055552 , 094-9242294 หรือ 084 6555588
- Map : ศูนย์โรคผิวหนัง เส้นผม และเล็บ เซเว่น พลัส ปากซอยพระรามเก้า 51สวนหลวง กรุงเทพมหานคร
D’Secret Clinic
- facebook : Dsecretclinic
- Messenger : Dsecretclinic
- Line : @dsecretclinic
- Phone : 02-910-2955 , 091-462-9154
- Map : 67 ซ.ประชาชื่น 2 ถ.ริมคลองประปา แขวง บางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร (ร้านอยู่หัวมุมด้านซ้ายก่อนทางเข้าที่จอดรถโลตัส ประชาชื่น)